วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary Notes.
No.11
Monday 30 November 2558
The academic learning experience for creative children.
สรุปการเรียนการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

Knowledge (ความรู้)

ภาพผลงาน







  

ภาพรวมผลงาน


การบริหารสมอง (brain activation
         หมายถึง การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ  ซึ่งเชื่อมสมอง ๒ ซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกัน แข็งแรงและทำงานคล่องแคล่ว จะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลและการเรียนรู้ของสมอง ๒ ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพ และยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีอารมณ์ขันเพราะคลื่นสมอง (brain wave) จะลดความเร็วลง คลื่นบีตา (beta) เป็นแอลฟา (alpha) ซึ่งเป็นสภาวะที่สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

๑.      การบริหารปุ่มสมอง ปุ่มขมับ ปุ่มใบหู
ปุ่มสมอง  ใช้มือซ้ายวางบริเวณใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้า จะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนัง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุมตื้นๆ ๒ ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว หรือมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ ๓๐ วินาที และให้นำมือขวาวางไปที่ตำแหน่งสะดือขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย และจากพื้นขึ้นเพดาน จากนั้นให้เปลี่ยนมือด้านขวาทำเช่นเดียวกัน


ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง

 เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
ช่วยสร้างให้ระบบการสื่อสารระหว่างสมอง ๒ ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ปุ่มขมับ ๑. ใช้นิ้วทั้ง ๒ ข้างนวดขมับเบาๆ วนเป็นวงกลม ประมาณ ๓๐ วินาที ถึง ๑ นาที

๑.      กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้นมองขึ้นไปที่เพดาน

ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ
 เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น
ทำให้การทำงานของสมองทั้ง ๒ ซีกสมดุลกัน

ปุ่มใบหู

๑. ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง ๒ ข้าง
๒. นวดตามริมขอบนอกของใบหูทั้ง ๒ ข้างพร้อมๆ กัน ให้นวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหูเบาๆ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความจำและมีสมาธิมากขึ้น

ประโยชน์ของการกระตุ้นปุ่มใบหู
 เพื่อกระตุ้นหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น
 สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น

๒. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (cross crawl)

ท่าที่ ๑ นับ ๑-๑๐
 ๑. ยกมือทั้ง ๒ ขึ้นมา
๒. มือขวา ชูนิ้วชี้ตั้งขึ้น นับ ๑  มือซ้าย ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือขนานกับพื้น
๓. นับ ๒ ให้เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายชู ๒ นิ้ว คือ นิ้วชี้กับนิ้วกลาง  ส่วนมือขวาก็ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๔. นับ ๓ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ๓ นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง  มือซ้ายก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๕. นับ ๔ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ๔ นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย  ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๖. นับ ๕ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ๕ นิ้ว คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย  ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๗. นับ ๖ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วก้อย  ส่วนมือขวาให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๘. นับ ๗ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วนาง  ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๙.  นับ ๘ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือ คือแตะที่นิ้วกลาง
 ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๑๐. นับ ๙ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วชี้ ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
 ๑๑. นับ ๑๐ ให้เปลี่ยนมาเป็นกำมือซ้าย ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
ประโยชน์ของการบริหารท่านับ ๑-๑๐
เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา
เพื่อกระตุ้นความจำ

 ท่าที่ ๒ จีบ L
๑. ยกมือทั้ง ๒ ข้างขึ้นมา ให้มือขวาทำท่าจีบ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ ส่วนนิ้วอื่นๆ ให้เหยียดออกไป
๒. มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้
๓. เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้ายบ้าง ทำเช่นเดียวกับข้อ ๑ ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวแอล (L) เช่นเดียวกับข้อ ๒
๔. ให้ทำสลับกันไปมา ๑๐ ครั้ง
ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา
เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุล มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

ท่าที่ ๓ โป้ง-ก้อย
๑. ยกมือทั้ง ๒ ข้างขึ้นมาให้มือขวาทำท่าโป้ง โดยกำมือและยกหัวแม่มือขึ้นมา ส่วนมือซ้ายให้ทำท่าก้อย โดยกำมือและเหยียดนิ้วก้อยชี้ออกมา
๒. เปลี่ยนมาเป็นโป้งด้วยมือซ้ายและก้อยด้วยมือขวา        
๓. ให้ทำสลับกันไปมา ๑๐ ครั้ง

ท่าที่ ๔ แตะจมูก-แตะหู
๑. มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)
๒. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายแตะที่หูขวา ส่วนมือขวาไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)
ประโยชน์ของการบริหารท่าแตะจมูก-แตะหู
ช่วยให้มองเห็นภาพทางด้านซ้ายและขวาดีขึ้น

ท่าที่ ๕ แตะหู
๑. มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา
๒. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา ส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย
ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย แตะจมูก-แตะหู
เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด

๓. การผ่อนคลาย
ยืนใช้มือทั้ง ๒ ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบาๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ ๕-๑๐ นาที
ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย
ทำให้เกิดสมาธิ เป็นการเจริญสติ

Skill (ทักษะ)

                           -การออกแบบความคิดสร้างสรรค์
                           -การสร้างสมาธิในการเริ่มเรียน
                           
                    Application (การประยุกต์ใช้)
                           การนำแบบการสอนการสร้างความคิดศิลป์สร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัย การออกแบบผลงานที่มีความหลากหลายและสร้างสรรค์ ในหลายวิธีการ การสร้างแบบจุดคิดความคิดสร้างสรรค์

                    Technical Education (เทคนิคการสอน)
                           การเชื่อมโยงนำเข้าสู่บทเรียน การสอนในทักษะ วิธีารต่างๆ การสอนในคิดในเชิงสร้างสรรค์และหลากหลายแตกต่างจากความคิดเดิมๆ การสอนให้เห็นถึงความคิดของเด็กที่มีการพัฒนาและแตกต่างจากความคิดของผู้ใหญ่ การมองความคิดของเด็กในทางสร้างสรรค์

                    Evaluation (การประเมิน)
Self  เข้าเรียนทันเวลา แต่งกายเรียบร้อย ร่วมทำกิจกรรม และสนใจการสอน
Friends นั่งเรียนอย่างตั้งใจ ฟังอาจารย์สอน มีการจดบันทึกการเรียน
Teacher มีการนำเข้าสู่การเรียนที่ดี มีอารมณ์ดี มีการอธิบายและยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน

    

  






Diary Notes.
No.10
Monday 16 November 2558
The academic leaning experience for creative children.
สรุปการเรียนการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

Knowledge (ความรู้)

หัวข้อ ศิลปะสร้างสรรค์

ความหมาย
     เป็นเครื่องมือที่ให้เด็กแสดงความรู้สึก ความต้องการผ่านผลงาน การวาด การปั้น การประดิษฐ์ การตัด การฉีก การปะ การพับ 


ความสำคัญและประโยชน์ของศิลปะสร้างสรรค์
·         เด็กได้แสดงความรู้สึก ความคิด ความสามารถ
·         ตอบสนองธรรมชาติและความต้องการของเด็ก
·         บำบัดอารมณ์
·         ฝึกทักษะการทำงานของอวัยวะต่างๆ
·         แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเด็ก

1.ขั้นขีดเขียน (Scribbling Stage)
·                                       2-4 ปี  ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
2.ขั้นก่อนมีแบบแผน (Preschemalic Stage)
·                                       4-7 ปี ภาพมีความสัมพันธ์กับความจริง
3.ขั้นใช้สัญลักษณ์ (Schemalic Stage)
·                                      7-9 ปี คล้ายของจริง
หลักการจัดประสบการณ์ศิลปะ
·         กระบวนการสำคัญกว่าผลงาน
·         หลีกเลี่ยงการวาดภาพตามแบบ การระบายสีจากสมุดภาพ
·         ชื่นชมม
·         เตรียมอุปกรณ์
·         ศิลปะสำคัญเช่นเดียวกับการเขียนอ่าน
·         หลีกเลี่ยงคำถาม "กำลังทำอะไร" หรือ "เดาสิ่งที่เด็กทำ"

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
·         กิจกรรมสี
·         การปั้น
·         การตัดปะ
·         การพับ 
·         การประดิษฐ์
อาจารย์ให้ชิ้นงานมาทำเพื่อส่งสัปดาห์



Skill (ทักษะ)

       -ทักษะการฟัง
       -ทักษะการสร้างผลงานความคิดสร้างสรรค์

 Application (การประยุกต์ใช้)

      การนำเทคนิคการสอนความคิดสร้างสรรค์ไปปรับใช้สอนให้กับเด็กปฐมวัย การคิดที่แตกต่าง สร้างสรรค์แปลงใหม่ไปจากความคิดเดิมๆ การสร้างผลงานที่เด็กปฐมวัยสร้างด้วยการลงมือปฎิบัติได้ด้วยตนเอง

Technical Education (เทคนิคการสอน)

          การสร้างผลงานเป็นแบบอย่าง การยกตัวอย่าง การสอนให้คิดในทางศิลป์สร้างสรรค์ มีการใช้เทคนิคเสริมแรง การใช้เพลง เกม คำถามในการกระทุ้นผู้เรียน

Evaluation (การประเมิน)
Self   มาเรียนทันเวลา ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่น
Friends   มีการจดบันทึกการเรียน แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนทันเวลา ตั้งใจเรียน

Teacher  มีการเชื่อมโยงนำเข้าสู่บทเรียนได้ดี มีการยกอย่างให้เห็นได้ชัดเจน
Diary Notes.
No.9
Monday 9 November 2558
The academic learning experience for creative children.
สรุปการเรียนการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

Knowledge (ความรู้)

Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
1.       สอบเขียนกระดาน
2.       กิจกรรมเคลื่อนไหว
นิทาน เรื่อง ผักมีประโยชน์
                                           หนูไปซื้อผักกับแม่ที่ตลาด
                                           หนูเห็นผักหลายอย่างเลย
                                           มีแครอท แตงกวา คะน้า
                                           เอาผักมาทำอาหาร
                                           กินผักร่างกายแข็งแรง


Skill (ทักษะ)
    การเขียนให้ตัวหนังสือสวยและถูกต้อง
    การเขียนหน้าห้องเรียน
    
 Application (การประยุกต์ใช้)
       
Technical Education (เทคนิคการสอน)
       ใช้การแบ่งกลุ่มย่อย มีการวางแผนการทำงานกลุ่ม การทำงานร่วมกับเพื่อน
       
Evaluation (การประเมิน)
Self   เข้าเรียนทันเวลา  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน
Friends  ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน แต่งกายเรียบร้อย
Teacher  สอนเข้าใจง่าย อธิบายรายละเอียดได้ดี แต่งกายสุภาพ




Diary Notes,
No.8
Monday 2 November 2558
The academic learning experience for creative children.
สรุปการเรียนการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

Knowledge (ความรู้)
  •       ซ้อมการเขียนหน้ากระดาน
  •       สาธิตการเขียนหน้ากระดาน
  •       สาธิตการสอน การเก็บเด็ก
  •       แบ่งกลุ่มกันฝึกเขียนหน้ากระดาน

Skill (ทักษะ)
  •             การสอนเด็ก
  •             การเขียนหน้ากระดาน
  •             การเก็บเด็กให้สนใจในการเรียน

 Application (การประยุกต์ใช้)
           การยึดเป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน การเก็บเด็ก การควบคุมชั้นเรียน การสอนที่มีประสิทธิภาพ 

Technical Education (เทคนิคการสอน)
        การใช้คำถาม
        การสาธิตการเรียนการสอน

Evaluation (การประเมิน)
Self   ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนทันเวลา ร่มทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน
Friends ตั้งใจฟังการสอน จดและบันทึกการเรียนการใช้เทคนิค

Teacher แต่งกายเรียบร้อย พูดจาสุภาพ สอนเข้าใจง่าย