Diary Notes.
No.11
Monday 30 November 2558
The academic learning experience for creative children.
สรุปการเรียนการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ
๒. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (cross crawl)
ท่าที่ ๑ นับ ๑-๑๐
Knowledge (ความรู้)
ภาพผลงาน
ภาพรวมผลงาน
การบริหารสมอง (brain
activation)
หมายถึง
การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะกล้ามเนื้อ ซึ่งเชื่อมสมอง ๒ ซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกัน แข็งแรงและทำงานคล่องแคล่ว
จะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลและการเรียนรู้ของสมอง ๒
ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพ และยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลายความตึงเครียด
ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว
มีอารมณ์ขันเพราะคลื่นสมอง (brain wave) จะลดความเร็วลง
คลื่นบีตา (beta) เป็นแอลฟา (alpha) ซึ่งเป็นสภาวะที่สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
๑. การบริหารปุ่มสมอง ปุ่มขมับ ปุ่มใบหู
►ปุ่มสมอง
ใช้มือซ้ายวางบริเวณใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก
หรือที่เรียกว่าไหปลาร้า จะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนัง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
คลำหาร่องหลุมตื้นๆ ๒ ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว หรือมากกว่านี้
ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ ๓๐
วินาที และให้นำมือขวาวางไปที่ตำแหน่งสะดือขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย
และจากพื้นขึ้นเพดาน จากนั้นให้เปลี่ยนมือด้านขวาทำเช่นเดียวกัน
ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง
♦ เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
♦ ช่วยสร้างให้ระบบการสื่อสารระหว่างสมอง
๒ ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
►ปุ่มขมับ ๑. ใช้นิ้วทั้ง
๒ ข้างนวดขมับเบาๆ วนเป็นวงกลม ประมาณ ๓๐ วินาที ถึง ๑ นาที
๑. กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้นมองขึ้นไปที่เพดาน
ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ
♦ เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น
♦ ทำให้การทำงานของสมองทั้ง
๒ ซีกสมดุลกัน
► ปุ่มใบหู
๑. ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง ๒ ข้าง
๑. ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง ๒ ข้าง
๒. นวดตามริมขอบนอกของใบหูทั้ง ๒ ข้างพร้อมๆ กัน
ให้นวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหูเบาๆ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง
ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความจำและมีสมาธิมากขึ้น
ประโยชน์ของการกระตุ้นปุ่มใบหู
♦ เพื่อกระตุ้นหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น
♦ สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น
๒. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (cross crawl)
ท่าที่ ๑ นับ ๑-๑๐
๑. ยกมือทั้ง ๒ ขึ้นมา
๒. มือขวา ชูนิ้วชี้ตั้งขึ้น นับ ๑ มือซ้าย
ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือขนานกับพื้น
๓. นับ ๒ ให้เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายชู ๒ นิ้ว คือ นิ้วชี้กับนิ้วกลาง ส่วนมือขวาก็ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๔. นับ ๓ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ๓ นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง มือซ้ายก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๕. นับ ๔ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ๔ นิ้ว คือ นิ้วชี้
นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๖. นับ ๕ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ๕ นิ้ว คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง
นิ้วนาง นิ้วก้อย ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๗. นับ ๖ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วก้อย ส่วนมือขวาให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๘. นับ ๗ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วนาง ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๙. นับ ๘ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือ คือแตะที่นิ้วกลาง
ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๙. นับ ๘ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือซ้าย ใช้นิ้วหัวแม่มือ คือแตะที่นิ้วกลาง
ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๑๐. นับ ๙ ให้เปลี่ยนมาเป็นชูมือขวา ใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่นิ้วชี้
ส่วนมือซ้ายให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
๑๑. นับ ๑๐ ให้เปลี่ยนมาเป็นกำมือซ้าย
ส่วนมือขวาก็ให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือชี้ขนานกับพื้น
ประโยชน์ของการบริหารท่านับ ๑-๑๐
♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน
เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา
♦ เพื่อกระตุ้นความจำ
ท่าที่ ๒ จีบ L
๑. ยกมือทั้ง ๒ ข้างขึ้นมา ให้มือขวาทำท่าจีบ
โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ ส่วนนิ้วอื่นๆ ให้เหยียดออกไป
๒. มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้
๓. เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้ายบ้าง ทำเช่นเดียวกับข้อ ๑
ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวแอล (L) เช่นเดียวกับข้อ ๒
๔. ให้ทำสลับกันไปมา ๑๐ ครั้ง
ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา
♦ เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน
เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อก
♦ เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุล
มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
♦ เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
ท่าที่ ๓ โป้ง-ก้อย
๑. ยกมือทั้ง ๒ ข้างขึ้นมาให้มือขวาทำท่าโป้ง
โดยกำมือและยกหัวแม่มือขึ้นมา ส่วนมือซ้ายให้ทำท่าก้อย
โดยกำมือและเหยียดนิ้วก้อยชี้ออกมา
๒.
เปลี่ยนมาเป็นโป้งด้วยมือซ้ายและก้อยด้วยมือขวา
๓. ให้ทำสลับกันไปมา ๑๐ ครั้ง
ท่าที่ ๔ แตะจมูก-แตะหู
๑. มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)
๑. มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขว้กัน)
๒. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายแตะที่หูขวา ส่วนมือขวาไปแตะที่จมูก
(ลักษณะมือไขว้กัน)
ประโยชน์ของการบริหารท่าแตะจมูก-แตะหู
♦ ช่วยให้มองเห็นภาพทางด้านซ้ายและขวาดีขึ้น
ท่าที่ ๕ แตะหู
๑. มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา
๑. มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา
๒. เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา ส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย
ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย
แตะจมูก-แตะหู
♦ เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
♦ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
♦ เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด
๓. การผ่อนคลาย
ยืนใช้มือทั้ง ๒ ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบาๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ ๕-๑๐ นาที
ยืนใช้มือทั้ง ๒ ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบาๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ ๕-๑๐ นาที
ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย
♦ ทำให้เกิดสมาธิ
เป็นการเจริญสติ
Skill (ทักษะ)
-การออกแบบความคิดสร้างสรรค์
-การสร้างสมาธิในการเริ่มเรียน
Application (การประยุกต์ใช้)
การนำแบบการสอนการสร้างความคิดศิลป์สร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัย การออกแบบผลงานที่มีความหลากหลายและสร้างสรรค์ ในหลายวิธีการ การสร้างแบบจุดคิดความคิดสร้างสรรค์
Technical Education (เทคนิคการสอน)
การเชื่อมโยงนำเข้าสู่บทเรียน การสอนในทักษะ วิธีารต่างๆ การสอนในคิดในเชิงสร้างสรรค์และหลากหลายแตกต่างจากความคิดเดิมๆ การสอนให้เห็นถึงความคิดของเด็กที่มีการพัฒนาและแตกต่างจากความคิดของผู้ใหญ่ การมองความคิดของเด็กในทางสร้างสรรค์
Evaluation (การประเมิน)
Self เข้าเรียนทันเวลา แต่งกายเรียบร้อย ร่วมทำกิจกรรม และสนใจการสอน
Friends นั่งเรียนอย่างตั้งใจ ฟังอาจารย์สอน มีการจดบันทึกการเรียน
Teacher มีการนำเข้าสู่การเรียนที่ดี มีอารมณ์ดี มีการอธิบายและยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน